รำวงมาตรฐาน หมายถึง ศิลปะแห่งการฟ้อนรำให้เข้ากับจังหวะหน้าทับ ใช้ท่ารำที่เป็นแบบฉบับมาตรฐานโดยรำเป็นวงกลม หันหน้าทวนเข็มนาฬิกา การรำวงมาตรฐานเป็นการรำที่ประดิษฐ์ขึ้นใหม่โดยการดูแลของกรมศิลปากรร่วมกับ กรมประชาสัมพันธ์ช่วยกันจัดทำขึ้น เพื่อให้เป็นแบบแผนในการใช้ท่ารำให้งดงามถูกต้องตามหลักนาฏศิลป์ไทย
รำวง มาตรฐาน มีกำเนิดมาจากการรำโทน แต่เดิมการรำโทนเป็นการละเล่นพื้นเมืองของชาวไทยทั่วไป ใช้เล่นกันในฤดูเทศกาลเฉพาะท้องถิ่นบางจังหวัด ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ประชาชนในพระนครและธนบุรีนิยมรำโทนกันทั่วไป เพราะรำง่าย และรำได้ทุกเพศทุกวัย จึงใช้เป็นเครื่องปลอบใจได้เป็นอย่างดี
รำ โทน หรือ รำวงพื้นบ้านได้รับความนิยม จึงทำให้แพร่หลายอย่างรวดเร็วในเวลาไม่นานนัก จอมพล ป.พิบูลสงคราม ท่านให้ความสนใจและสนับสนุนรำวงอย่างจริงจัง จึงได้มอบหมายให้กรมศิลปากรจัดการปรับปรุงการรำ และบทร้องให้มีแบบแผนที่แน่นอน เพื่อเชิดชูศิลปวัฒนธรรมไทยการละเล่นพื้นบ้านให้ทีระเบียบ แบบแผนเป็นแบบฉบับต่อคนรุ่นหลัง กรมศิลปากร ประพันธ์ 4 บทเพลง คืองามแสงเดือน,ชาวไทย ,รำซิมารำและ คืนเดือนหงาย ท่านผู้หญิงละเมียด พิบูลสงคราม ประพันธ์ 6 บทเพลง คือ ดอกไม้ของชาติ , ดวงจันทร์-วันเพ็ญ ,หญิงไทยใจงาม ,ยอดชายใจหาญ ,ดวงจันทร์ขวัญฟ้า ,บูชานักรบ
กรม ศิลปากรได้นำท่ารำจาก ท่าแม่บทของนาฏศิลป์ไทย มากำหนดเป็นท่ารำของแต่ ละบท เพื่อให้เป็นต้นฉบับ จึงเรียกว่า “รำวงมาตรฐาน” แม้สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2แล้ว รำวงมาตรฐานก็ยังคงไม่รับความนิยม ต่อมาจนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้มีผู้นำเอาไปสลับกับการเต้นลีลาศ ซึ่งชาวต่างชาติก็นิยมนำรำวงมาตรฐานไปเล่นกันอย่างแพร่หลายจนเป็นศิลปะที่ นิยมกันไปนานาประเทศ มีนักประพันธ์ชาวอเมริกันบางท่านที่ชอบ
รำวง มาตรฐานจึงนำไปเขียนกล่าวขวัญไว้ในหนังสือ Theatre In The East โดยเขาเป็นผู้แต่งแต่เรียก “รำวง” เพี้ยนไปเป็น “รำบวง” สำหรับผู้ประดิษฐ์ท่ารำวงมาตรฐานคือ หม่วมต่วน (ศุภลักษณ์ ภัทรนาวิก) นางมัลลี คงประภัศร์ และคุณครูละมุล ยมะคุปต์
ลำดับต่อไปก็จะเป็นการนำพาทุกคนที่เข้ามาชมได้รู้จักท่ารำและได้ศึกษาในรายวิชานาฏศิลป์ได้หวังว่าทุกคนทุกท่านจะชอบในการนำเสนอในรูปแบบนี้ขอบคุณครับ