วันอาทิตย์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2560


ระบำร่อนแร่


ระบำร่อนแร่ เป็นระบำที่ปรับปรุงขึ้นตามลีลาท่าทางในการประกอบอาชีพของชาวไทยภาคใต้
 เป็นการแสดงนาฎลีลาที่ถ่ายทอดวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในท้องถิ่น ถ่ายทอดการทำมาหากินที่แตกต่างจากภูมิภาคอื่น คือการร่อนแร่ดีบุก ซึ่งเป็นอาชีพดั้งเดิม และสร้างรายได้ให้แก่
จังหวัดอย่างมหาศาลในอดีต วัสดุในการร่อนแร่ที่เรียกว่า “เลียง” ซึ่งมีลักษณะกลมคล้ายกระทะ
     หรือตะแกรง ก้นแหลม สามารถเจาะรูสำหรับร่อนแร่ได้ 
จัดแสดงถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินเยือนภาคใต้เป็นครั้งแรก ในปี พ.ศ. ๒๕๐๒
ต่อมานักศึกษาระดับปริญญา วิทยาลัยนาฏศิลปสมทบในคณะนาฏศิลปและดุริยางค์ วิทยาลัยเทคโนโลยีอาชีวะศึกษา พ.ศ. ๒๕๒๑ ได้นำระบำร่อนแร่มาปรับปรุง และเรียบเรียงท่าขึ้นใหม่
 โดยใช้เพลง "ตลุงราษฎร์" ซึ่งนายประสิทธิ์ ถาวร ผู้เชี่ยวชาญดนตรีไทยและศิลปินแห่งชาติ 
เป็นผู้แต่งทำนองเพลง ทั้งนี้อยู่ในความควบคุมของนางสาวปราณี สำราญวงศ์ หัวหน้าภาควิชานาฏดุริยางค์ คีตศิลปศึกษา
     การแต่งกาย ในการแสดงใช้ชุดย่าหยา ซึ่งเป็นชุดพื้นเมืองของท้องถิ่น

ท่ารำดังนี้


 

ระบำร่อนแร่เป็นการแสดงของพื้นบ้านของทางภาคใต้ในการหาแร่
 ท่าทางแต่ละท่าก็เอามาจาการร่อนแร่โดยตรง

ที่มา http://www.artsedcenter.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539512330&Ntype=11
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ฟ้อนหมากกั๊บแก้บ - ลำ หมากกั๊บแก้บ(กรับ)   เป็นเครื่องดนตรีประกอบจังหวะของภาคอีสาน มีด้วยกัน 2 ประเภท คือ 1. กั๊บแก้บไม้สั้น เป็นไ...