วันอาทิตย์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2560

ระบำสุโขทัย







ระบำสุโขทัย ระบำสุโขทัย เป็นระบำชุดสุดท้ายของระบำโบราณคดี 5 ชุดที่ นายมนตรี
 ตราโมท ผู้เชี่ยวชาญดนตรีไทยและศิลปินแห่งชาติเป็นผู้แต่งทำนองเพลง 
โดยนำเพลงสุโขทัยของเก่ามาดัดแปลงต่อเติมในตอนท้าย ท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี 
ผู้เชี่ยวชาญนาฏศิลป์ไทยและศิลปินแห่งชาติ เป็นผู้ประดิษฐ์ท่ารำขึ้น 
จากลักษณะท่าทางของประติมากรรมสมัยสุโขทัย อยู่ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 19–20 
พระพุทธรูปปูนปั้นและหล่อสำริดปางลีลา ดังนั้นท่ารำและดนตรี ตลอดจเครื่องแต่งกายใน
ระบำชุดนี้ จึงมีลีลาสำเนียงและแบบอย่างเป็นแบบไทยสมัยสุโขทัย
ในจังหวัดสุโขทัย โดยสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสุโขทัย 
ได้ฟื้นฟูและเผยแพร่ระบำสุโขทัยเข้าสู่กระบวนการเรียนการสอนในโรงเรียน 
โดยคณาจารย์จากวิทยาลัยนาฏศิลป์สุโขทัย ....ได้จัดมหกรรมระบำสุโขทัยครั้งยิ่งใหญ่ 
ในพิธีเปิดงานกีฬาระดับอำเภอ ระดับจังหวัด มหกรรมปฏิรูปการเรียนรู้ มาหลายครั้ง 
และเปิดการแสดงในงานพิธีมงคลต่าง ๆ ทั่วทั้งจังหวัดสุโขทัย จึงทำให้ระบำสุโขทัย
ได้เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายของคนทุกหมู่เหล่าในจังหวัดสุโขทัย และเผยแพร่ไปยั
จังหวัดใกล้เคียงเช่นกำแพงเพชร ตาก อุตรดิตถ์....
ปัจจุบันระบำสุโขทัยยังไปที่นิยมที่จะใช้เปิดการแสดงในงานประเพณีมงคลต่าง ๆ


เครื่องแต่งกาย

       เครื่องแต่งกายชุดระบำสุโขทัยนั้นได้อาศัยการศึกษาภาพลายเส้นรอบพระพุทธบาท
สัมฤทธิ์สมัยสุโขทัย ส่วนทรงผมดูแนวจากภาพลายเส้นจิตรกรรมที่วัดศรีชุม 
การแต่งกายแบ่งออกเป็นตัวเอกและตัวรอง ดังนี้
ศีรษะ-ทรงยอดรัศมีสำหรับตัวเอก และทรงระฆังคว่ำสำหรับตัวรอง
ต่างหู-เป็นดอกกลม
 เสื้อในนางสีชมพูอ่อน
กรองคอสีดำ ปักดิ้นและเลื่อม
ต้นแขนตัวรองพื้นสีดำ ปักดิ้นและเลื่อม ตัวเอกทำด้วยหนังลงรักปิดทอง
กำไลข้อมือตัวรองพื้นสีดำ ปักดิ้นและเลื่อม ตัวเอกทำด้วยหนังลงรักปิดทอง 
ข้อเท้าตัวรองพื้นสีดำ ปักดิ้นและเลื่อม ตัวเอกทำด้วยหนังลงรักปิดทอง
ผ้ารัดเอว ทำด้วยผ้าสีดำ มีลวดลายเป็นดอกไม้ประดับและห้อยที่ชายเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนม
เปียกปูน มีริบบิ้นสีเขียวห้อยมาทั้งสองข้าง
ผ้านุ่ง เป็นกระโปรงบานจีบหน้าสีส้ม มีลูกไม้สีขาวระบายเป็นชั้น ๆ
ทรงผม เกล้าผม ครอบด้วยที่รัดผม
จำนวนผู้เล่น ผู้หญิงจำนวน 7 คน (มากกว่านั้นก็ได้แต่ผู้แสดงต้องเป็นเลขคี่)

นาฎยศัพท์ที่ใช้ประกอบการรำ

     ๑.จีบหังสัสยะหัสต์ โดยการนำนิ้วหัวแม่มือจรดข้อสุดท้ายของนิ้วชี้ 
หักข้อนิ้วชี้ลงมา นิ้วที่เหลือกรีดดึงออกไป
     ๒.  ท่าปางลีลา เป็นท่าออก โดยมือซ้ายจีบแบบหังสัสยะหัสต์ 

มือขวาแบส่งไปหลังหงายท้องแขนขึ้น เอียงศีรษะด้านซ้าย ก้าวเท้าขวามาข้างหน้า 
เท้าซ้ายเปิดส้นเท้า
     ๓.ท่าดอกบัว คิดจากการเคารพบูชากราบไหว้ มือทำเป็นรูปดอกบัวอยู่ระหว่างอก

เป็นดอกบัวตูม ชูมือขึ้นแล้วค่อยๆบานปลายนิ้วออกเป็นบัวบาน
     ๔.ท่าพระนารยณ์ แทนองค์พระนารายณ์ พระอิศวร ท่าจีบแบบหังสัสยะหัสต์ 
ตั้งวงกลางข้างลำตัว กระดกเท้าซ้าย
    ๕.ท่ายูงฟ้อนหาง คิดจากท่านาฎศิลป์ แบมือ แขนทั้งสองตึงส่งหลัง 

หงายท้องแขนขึ้น
     ๖.ท่าบัวชูฝัก คิดจากการขอพร อีกมือหนึ่งไว้ข้างสะโพก มือจีบคว่ำแล้วสอดมือขึ้น 
เป็นท่าสอดสูงเหนือศีรษะ
     ๗.ท่าชะนีร่ายไม้ คิดจากมนุษย์โลกต้องการดำรงชีวิต หมุนเวียนเปลี่ยนไป 

โดยหมุนเป็นวงกลมแทนการเวียน ว่าย ตาย เกิด
มือข้างหนึ่งตั้งวงสูง มืออีกข้างหนึ่งหงายท้องแขน ลำแขนตึง

 แบมือและชี้ปลายนิ้วลง มองมือสูง
ท่ารำดังนี้














ระบำสุโขทัยเป็นการรำที่เก่าแก่และท่ารำแต่ล่ะท่าเป็นท่ารำที่โบราญ
และสวยงามเชื่อว่าระบำสุโขทัยมีมาแต่นานแล้ว

ที่มาhttps://sites.google.com/site/natsilpxnurak/raba-sukhothay

1 ความคิดเห็น:

ฟ้อนหมากกั๊บแก้บ - ลำ หมากกั๊บแก้บ(กรับ)   เป็นเครื่องดนตรีประกอบจังหวะของภาคอีสาน มีด้วยกัน 2 ประเภท คือ 1. กั๊บแก้บไม้สั้น เป็นไ...