ฟ้อนสาละวัน
ลำสาละวัน เป็นวัฒนธรรมของชนชาติลาวอีกประเภทหนึ่ง การลำสาละวันที่เก่าแก่ที่กำเนิดมาจากการทรงผีไท้ผีแถน ตามความเชื่อดั้งเดิมแล้วกลายมา เป็นมหรสพของชุมชน แล้วได้ประยุกต์เพิ่มกลอนลำให้เกิดความสนุกสนาน ประกอบท่าทางการเคลื่อนไหวของร่างกายโดยอิสระตามธรรมชาติ แรกเริ่มเป็นการเล่นโดยทั่วไปในหมู่ชาวบ้าน แล้วแพร่กระจายเข้ามาในประเทศไทย ได้รับความนิยมมายาวนาน ด้วยท่วงทำนองที่ไพเราะ จังหวะสม่ำเสมอ
เนื้อความของลำสาละวัน นอกจากจะสะท้อนให้เห็นแนวทางการเกี้ยวพาราสีระหว่างชายหญิงแล้ว โวหารเปรียบเทียบที่ใช้ในกลอนลำ ได้สะท้อนให้เห็นถึงความงามของการใช้ภาษา นอกจากนั้น ท่วงทำนองของการลำ ยังมีการเอื้อนที่เป็นลักษณะเฉพาะตัว
“ลำสาละวัน” จึงเป็นเอกลักษณ์ของชาวสาละวันมายาวนาน ยังคงไว้ซึ่งความไพเราะ และเป็นการร้อยเรียงภาษาที่บอกเล่าเป็นทำนอง ให้ทราบถึงอดีตที่รุ่งเรืองของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวได้อย่างดียิ่ง
การแสดงชุด "ฟ้อนสาละวัน" ประดิษฐ์ขึ้นครั้งแรก โดย อาจารย์วีณา วีสเพ็ญ และคณะ แห่งมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม โดยได้กลอนลำสาละวันมาจากคนลาวอพยพ ซึ่งฟ้อนสาละวันนี้ เป็นแบบของวงแคนหรือแบบของ อ.วีณา
การแสดงชุด “ฟ้อนสาละวัน” อีกแบบหนึ่งเป็นแบบของวิทยาลัยนาฏศิลป์ร้อยเอ็ด โดยคณาจารย์จากวิทยาลัยนาฏศิลป์ร้อยเอ็ด เล็งเห็นคุณค่าความไพเราะของทำนองและบทร้อง ตลอดจนท่าฟ้อนรำที่สื่อความหมายตามแบบศิลปะพื้นบ้านที่บริสุทธิ์ รวมไปถึงความสวยงามของลวดลายที่ปรากฏบนผ้าทอของชาวสาละวัน โดยพยายามอนุรักษ์การฟ้อนแบบดั้งเดิมไว้ให้มากที่สุด โดยไปศึกษาการขับลำสาละวันและท่าฟ้อนสาละวัน ณ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว แล้วนำกลับเข้ามาเผยแพร่ในประเทศไทยอีกครั้ง จึงได้นำฟ้อนประกอบการลำสาละวันมาจัดระเบียบแบบแผนการแสดงใหม่ โดยดัดแปลงเพื่อใช้ประกอบในการแสดงวงโปงลาง แต่ยังคงรูปแบบไว้ดั้งเดิมเอาไว้อย่างครบถ้วน
การแต่งกาย (แบบวนศ.ร้อยเอ็ด)
- ชาย สวมเสื้อคอกลมแขนสั้นสีเขียวลายจกดิ้นทอง นุ่งผ้าโจงกระเบนสีเขียว ใช้ผ้าสไบจกลุ่มน้ำโขงมัดเอว สวมสร้อยทอง และกำไลทอง
- หญิง สวมเสื้อที่มีไหล่เสื้อด้านซ้ายสีเขียว ซึ่งเป็นแบบเสื้อชุดประจำชาติของลาว ห่มสไบจกดิ้นทองและนุ่งผ้าซิ่นจกสีแดงยกดิ้นทอง ผมเกล้ามวยสูง รวบผมตึงเบี่ยงมวยผมไปทางซ้าย มัดมวยผมด้วยสายลูกปัดทอง ปักปิ่นทองที่ยอดมวยผม สวมเครื่องประดับทอง เช่น สร้อย ต่างหู กำไล เข็มขัด
เนื้อความของลำสาละวัน นอกจากจะสะท้อนให้เห็นแนวทางการเกี้ยวพาราสีระหว่างชายหญิงแล้ว โวหารเปรียบเทียบที่ใช้ในกลอนลำ ได้สะท้อนให้เห็นถึงความงามของการใช้ภาษา นอกจากนั้น ท่วงทำนองของการลำ ยังมีการเอื้อนที่เป็นลักษณะเฉพาะตัว
“ลำสาละวัน” จึงเป็นเอกลักษณ์ของชาวสาละวันมายาวนาน ยังคงไว้ซึ่งความไพเราะ และเป็นการร้อยเรียงภาษาที่บอกเล่าเป็นทำนอง ให้ทราบถึงอดีตที่รุ่งเรืองของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวได้อย่างดียิ่ง
การแสดงชุด "ฟ้อนสาละวัน" ประดิษฐ์ขึ้นครั้งแรก โดย อาจารย์วีณา วีสเพ็ญ และคณะ แห่งมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม โดยได้กลอนลำสาละวันมาจากคนลาวอพยพ ซึ่งฟ้อนสาละวันนี้ เป็นแบบของวงแคนหรือแบบของ อ.วีณา
การแสดงชุด “ฟ้อนสาละวัน” อีกแบบหนึ่งเป็นแบบของวิทยาลัยนาฏศิลป์ร้อยเอ็ด โดยคณาจารย์จากวิทยาลัยนาฏศิลป์ร้อยเอ็ด เล็งเห็นคุณค่าความไพเราะของทำนองและบทร้อง ตลอดจนท่าฟ้อนรำที่สื่อความหมายตามแบบศิลปะพื้นบ้านที่บริสุทธิ์ รวมไปถึงความสวยงามของลวดลายที่ปรากฏบนผ้าทอของชาวสาละวัน โดยพยายามอนุรักษ์การฟ้อนแบบดั้งเดิมไว้ให้มากที่สุด โดยไปศึกษาการขับลำสาละวันและท่าฟ้อนสาละวัน ณ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว แล้วนำกลับเข้ามาเผยแพร่ในประเทศไทยอีกครั้ง จึงได้นำฟ้อนประกอบการลำสาละวันมาจัดระเบียบแบบแผนการแสดงใหม่ โดยดัดแปลงเพื่อใช้ประกอบในการแสดงวงโปงลาง แต่ยังคงรูปแบบไว้ดั้งเดิมเอาไว้อย่างครบถ้วน
การแต่งกาย (แบบวนศ.ร้อยเอ็ด)
- ชาย สวมเสื้อคอกลมแขนสั้นสีเขียวลายจกดิ้นทอง นุ่งผ้าโจงกระเบนสีเขียว ใช้ผ้าสไบจกลุ่มน้ำโขงมัดเอว สวมสร้อยทอง และกำไลทอง
- หญิง สวมเสื้อที่มีไหล่เสื้อด้านซ้ายสีเขียว ซึ่งเป็นแบบเสื้อชุดประจำชาติของลาว ห่มสไบจกดิ้นทองและนุ่งผ้าซิ่นจกสีแดงยกดิ้นทอง ผมเกล้ามวยสูง รวบผมตึงเบี่ยงมวยผมไปทางซ้าย มัดมวยผมด้วยสายลูกปัดทอง ปักปิ่นทองที่ยอดมวยผม สวมเครื่องประดับทอง เช่น สร้อย ต่างหู กำไล เข็มขัด
ท่ารำดังนี้
ฟ้อนสาละวัน เป็นการฟ้อนที่ออกท่าทางสนุกสนาม และท่าแต่ละท่ามีความอ่อนช้อยและสวยงาม
การแสดงชุดนี้ได้อิธิพลมาจากประเทศลาว ก็จะรำคล้ายๆ กัน
ที่มา http://www.isan.clubs.chula.ac.th/folkdance/?transaction=roied02.php
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น