ฟ้อนแหย่ไข่มดแดง
“ไข่มดแดง” รวมถึงตัวอ่อนของมดแดง ก็ถือได้ว่าเป็นอาหารอีสานที่หารับประทานได้ในช่วงหน้าแล้งเท่านั้น ถือได้ว่าเป็นอาหารตามฤดูกาลแม้ในปัจจุบันก็ยังได้รับความนิยมในการบริโภคกันอยู่ ด้วยรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ และสามารถหาได้ง่ายๆในท้องถิ่น ซึ่งกรรมวิธีการหาไข่มดแดงจะต้องมีอุปกรณ์ คือ ไม้ไผ่ยาวผูกปลายด้วยตะกร้า และมีคุใส่น้ำเตรียมไว้ใส่ไข่มดแดงที่แหย่ได้ แล้วใช้เศษผ้ากวนเอาตัวมดแดงแยกออกจากไข่ เพื่อนำไปประกอบอาหารต่อไป
ภาควิชานาฏศิลป์ วิทยาลัยครูบุรีรัมย์ (มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์) ได้ศึกษารูปแบบการแหย่ไข่มดแดงของชาวบ้าน โดย อ.ประชัน คะเนวัน และ อ. ดรรชนี อุบลเลิศ ได้ศึกษาขั้นตอนอย่างละเอียด ก่อนจะนำมาประดิษฐ์เป็นชุดการแสดง “เซิ้งแหย่ไข่มดแดง” ซึ่งมีความสนุกสนานเร้าใจในแบบศิลปการแสดงแบบชาวอีสาน ซึ่งได้แสดงออกถึงการออกไปหาไข่มดแดง ซึ่งได้มาอย่างยากลำบาก ทั้งต้องถูกมดแดงกัดหรือไต่ตามเสื้อผ้า การกวนแยกตัวมดแดงออกจากไข่ ทำให้ชุดการแสดงนี้บอกเล่าวิธีการได้อย่างละเอียด
การแสดงฟ้อนแหย่ไข่มดแดง
- เดินทางออกจากบ้าน ฝ่ายหญิงจะถือคุใส่น้ำและเศษผ้าเหน็บไว้ที่เอว ชายถือไม้ยาวผูกตะกร้าที่ปลายไม้สำหรับแหย่รังมดแดง
- มองหารังมดแดง
- แหย่มดแดงได้เทลงในครุใส่น้ำ
- นำผ้ากวนมดแดง เพื่อแยกตัวมดออกจากไข่มดแดง
- เทน้ำออกจากครุ
- เก็บอุปกรณ์เดินทางกลับบ้าน
เครื่องแต่งกาย ฝ่ายชายนุ่งกางเกงขาก๊วย เสื้อคอกลมแขนสั้น มีผ้าขาวม้าคาดเอว และใช้ผ้าขาวม้าโพกศีรษะ ฝ่ายหญิงสวมเสื้อแขนกระบอก 3 ส่วนคอกลม ห่มสไบ นุ่งผ้าซิ่นมัดหมี่สั้นแค่เข่า
ดนตรี ลายสุดสะแนน ลายเซิ้งบั้งไฟ
อุปกรณ์สำหรับการแสดง คุใส่น้ำ ตะกร้าผูกปลายไม้ยาว ผ้าสำหรับกวนมดแดง
ท่ารำดังนี้
ฟ้อนแหย่ไข่มดแดง เป็นการฟ้อนที่แสดงให้เห็นเกี่ยวกับการหากินของชาวบ้านทางอีสาน
และได้ประดิษฐิ์ท่ารำขึันมา
ที่มา http://www.isan.clubs.chula.ac.th/folkdance/?transaction=kalsin08.php
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น