วันอาทิตย์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2560

การแสดงระบำชาวนา

                 

“ระบำชาวนา” ซึ่งผู้แต่งทำนองเพลงนี้คือ 
นายมนตรี ตราโมท ผู้เชี่ยวชาญดนตรีไทยและศิลปินแห่งชาติ ส่วนท่ารำนั้นท่านผู้หญิงแผ้ว
 สนิทวงศ์เสนี ผู้เชี่ยวชาญนาฏศิลป์ไทยและศิลปินแห่งชาติ เป็นผู้คิดและออกแบบท่ารำ
 เมื่อได้ชมการแสดงระบำชาวนา
แล้วจะมีสุนทรียภาพทางนาฏศิลป์ที่เกิดขึ้นดังนี้

       ตัวละคร เครื่องแต่งกาย

ตัวละครนั้นจะเป็นชาวบ้านทั้งหญิงและชาย  จะเป็นแต่งชุดม่อฮ่อม ซึ่งเป็นชุดที่เรียบง่าย 
ไม่หรูหรา เป็นชุดพื้นบ้านที่เห็นแล้วจะจะทำให้รู้ได้เลยว่าการแสดงชุดนี้ต้องเกี่ยวกับการทำนา

      ขับร้อง บทร้อง บทเจรจา บทพากย์ 

การแสดงระบำชาวนา เป็นการแสดงที่ไม่มีการขับร้อง ไม่มีเนื้อเพลง มีเพียงดนตรี
 ประกอบจังหวะซึ่งเป็นดนตรีที่มีความสนุกสนาน เพลิดเพลิน

      ฉาก อุปกรณ์

อุปกรณ์ที่ใช้จะเป็นอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับการทำนาตั้งแต่เริ่มต้น จนถึงการเกี่ยวข้าว ฉะนั้นอุปกรณ์ที่ใช้จึง
ได้แก่ เมล็ดข้าว เคียวเกี่ยวข้าว รวงข้าง กระด้ง เป็นต้น

     ดนตรีที่ใช้ประกอบ

ใช้เครื่องดนตรีพื้นบ้าน เช่น กลองยาว กลองโทน ฉิ่ง ฉาบ กรับ และโหม่ง 
ดนตรีจะมีจังหวะที่สนุกสนาน เพื่อให้เกิดความเพลิดเพลิน และให้หายเหนื่อยจากการทำนา

     ท่าทางสื่อความหมาย

ท่ารำจะเป็นท่าที่สะท้อนถึงชีวิตความเป็นอยู่ของชาวนา เป็นขั้นตอนการทำนาตั้งแต่เริ่มหว่านข้าว 
ไถนา เกี่ยวข้าว ฝัดข้าว เป็นต้น 


ท่ารำดังนี้














ระบำชาวเป็นการสื่อให้เห็นถึงชาวนาที่ได้ทำนาข้าวจากการปลูกจนได้เก็บเกี่ยวและ
ท่ารำที่สนุกสนามตามท้องถิ่นไทย



ที่มาhttps://sites.google.com/site/websitnatsilpphakhklang/nad-silp-phakh-klang/kar-saedng-raba-chawna

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ฟ้อนหมากกั๊บแก้บ - ลำ หมากกั๊บแก้บ(กรับ)   เป็นเครื่องดนตรีประกอบจังหวะของภาคอีสาน มีด้วยกัน 2 ประเภท คือ 1. กั๊บแก้บไม้สั้น เป็นไ...