วันอาทิตย์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2560



โนราห์


โนราห์ หรือบางคนเรียกว่า มโนห์รา เป็นศิลปะการแสดงที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในภาคใต้ 
ลักษณะการเดินเรื่อง และรูปแบบของการแสดงคล้ายละครชาตรีที่นิยมเล่นกันแพร่หลายในภาคกลาง เดิมการแสดงโนราจะใช้เนื้อเรื่องจากวรรณคดีเรื่องพระสุธน-มโนห์รา 
โดยตัดตอนแต่ละตอนตั้งแต่ต้นจนจบมาแสดง เช่น ตอนกินรีทั้งเจ็ดเล่นน้ำในสระ
 ตอนพรานบุญจับนางมโนห์รา ตอนพรานบุญจับนาง
มโนห์ราไปถวายพระสุธน ฯ ปกติการแสดงโนราจะเริ่มจากนายโรงหรือโนราใหญ่ซึ่งเป็นตัวเอกหรือหัวหน้าคณะอออกมารำ "จับบทสิบสอง" คือ การรำเรื่องย่อต่าง ๆ สิบสองเรื่อง เช่น
 พระสุธน-มโนห์ราพระรถ-เมรี ลักษณวงศ์ เป็นต้น แต่หากผู้ว่าจ้างไปแสดงขอให้จับตอนใดให้จบเป็นเรื่องยาว ๆ ก็จะแสดงตามนั้น

ผู้แสดง เป็นชายล้วน คณะหนึ่ง ๆ จะมีประมาณ ๑๕-๒๐ คน แล้วแต่ขนาดของคณะ อาจมีถึง ๒๕ คน ก็ได้ ประกอบด้วย หัวหน้าคณะหรือนายโรงหรือโนราใหญ่ ๑ คน หมอไสยศาสตร์ ๑ คน
 ผู้รำอย่างน้อย ๖ คน อย่างมาก ๑๐ คน นายพราน (พรานบุญ) ๑ ทาสี
 (คนใช้ ตัวประกอบ ตัวตลก) ๑ คน นักดนตรี และลูกคู่จำนวน ๕-๖ คน ตาเสือ 
(ผู้ช่วยขนเครื่องและช่วยดูแลทั่วไป) ๑-๒ คน

         เครื่องดนตรี วงโนรา ประกอบด้วย กลองโนรา หรือทับโนรา โหม่ง ฉิ่ง ฉาบการแสดง โนราแต่เดิมจะแสดงบนพื้นดิน โดยใช้เสื่อปู ตัวโรงเป็นสี่เหลี่ยม มีหลังคามุงด้วยจาก มีเสากลาง ๑ ต้น
 มีแต่ไม้ไผ่สูงราว ๕๐ เซนติเมตร 
สำหรับตัวแสดงนั้น เรียกว่า "นัก" ด้านซ้ายและขวาของนักเป็นที่สำหรับดนตรีและลูกคู่นั่ง

         การแต่งกาย แบบดั้งเดิมจะแต่งกายเลียนแบบเครื่องทรงของกษัตริย์
 ประกอบด้วย เทริด (ชฎา) สังวาล ปีกนกแอ่น หางหงส์ ทับทรวง สนับเพลา ชาวไหว ผ้าห้อยข้าง 
กำไลต้นแขน กำไลข้อมือ และสวมเล็บยาวไม่สวมเสื้อ เทริดจะสวมเฉพาะตัวนายโรงหรือโนราใหญ่เท่านั้น ส่วนนายพรานจะสวมหน้ากากเปิดคาง หน้ากากสีแดงสำหรับใช้ "ออกพราน" 
ส่วนหน้ากากพรานสีขาว จะใช้สำหรับนายพรานทาสี ตามความเชื่อและพิธีกรรมในการแสดง
 ถือว่าเป็นหน้าศักดิ์สิทธิ์ 

แต่เดิมการเดินทางไปแสดงที่ต่าง ๆ จะต้องเดินทางเท้า จึงเรียกว่า "โนราเดินโรง" 
ก่อนจะออกเดินทางนายโรงจะช่วยกันขนเครื่องที่จะใชแสดงมาวางไว้กลางบ้าน 
และหมอไสยศาสตร์จะทำพิธีพร้อมกับบรรเลงดนตรี เพื่อขอความเป็นสิริมงคล ระหว่างเดินทางผ่านสถานที่หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ก็จะบรรเลงดนตรีเป็นการแสดงคารวะและอาจมีการำถวายมือด้วย
 เมื่อถึงสถานที่ที่จะแสดงจะนำเอาอุปกรณ์ต่าง ๆ กองไว้กลางโรง เมื่อจะถึงเวลาแสดง หมอไสย
ศาสตร์มาปกปักรักษา อย่าให้มีอันตรายใด ๆ 
จากนั้นลูกคู่ก็จะลงโรง (โหมโรง) สักพักหนึ่งเมื่อคนดูหนาตาแล้ว นายโรงก็จะขับบทบูชาครู
 และผู้แสดงออกรำ โดยเริ่มจากผู้แสดงที่ยังไม่ค่อยเก่งไปจนถึงคนเก่ง ๆ และสุดท้ายก่อน
นายโรงจะออก ตัวนายพรานหรือตัวทาสีหรือตัวตลก จะออกมาร้องตลก ๆ 
จากนั้นนายโรงหรือโนราใหญ่จะออกรำ ซึ่งทุกคนจะคอยดูโนราใหญ่
 เพราะถือว่าเป็นผู้ที่รำสวยที่สุดเมื่อนายโรงรำจบ ก็อาจจะเลิกการแสดงหรืออาจแสดงต่อด้วยเรื่องสุธน มโนห์รา พระรถเมรี ฯลฯ หรือที่เรียกว่า "จับบทสิบสอง" จนดึก เมื่อโนราใหญ่หรือนายโรงถอดเทริดออก ก็เป็นอันจบการแสดง
ความยาวของการแสดงชุดนี้ ใช้เวลาแสดงประมาณ ๒-๓ ชั่วโมง

ท่ารำดังนี้


โนราห์ การรำโนราห์มันมีหลายตอนและเราได้ยกตอนนี้มา การรำโนราห์ท่ารำค่อนข้างจะยากแต่ล่ะท่าเป็นการทำตัวอ่อนงอแขนงอขา ต้องมีครูผู้ชี่ยวชาญมาสอนถึงจะสามารถรำได้ และการรำโนราห์ เป็นการรำที่นานมาก ประมาน 2-3 ชั่วโมงเลย ความยาวของแต่ล่ะตอนก็ต่างกันไปตามบทแสดง


ที่มา http://www.artsedcenter.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539512330&Ntype=11


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ฟ้อนหมากกั๊บแก้บ - ลำ หมากกั๊บแก้บ(กรับ)   เป็นเครื่องดนตรีประกอบจังหวะของภาคอีสาน มีด้วยกัน 2 ประเภท คือ 1. กั๊บแก้บไม้สั้น เป็นไ...