วันพุธที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2560



รำโทน


รำโทน เป็นการแสดงพื้นบ้านที่ยังมีการแสดงอยู่ในจังหวัดลพบุรี เริ่มมีการแสดงตั้งแต่เมื่อไรไม่ทราบแน่ชัด แต่มีการแสดงแพร่หลายทั่วไปที่จังหวัดลพบุรีในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 (พ.ศ. ) ประชาคมเกิดความเครียด จึงมีการร้องเพลงรำโทนเพื่อให้เกิดความสนุกสนานร่าเริงบ้าง เพราะในช่วงสงครามห้ามทำกิจกรรมต่างๆ 
และก็เกิดการรวมตัวกันเป็นกลุ่มระหว่างญาติพี่น้อง เพื่อนๆ ผึกหัดรำโทนกันเรื่อยมา 
จำนวนผู้แสดง 
จำนวนนักแสดงในแต่ละพื้นที่ไม่เท่ากัน แล้วแต่ความพร้อมของผู้แสดงไม่มีการกำหนดที่แน่นอน 
วิธีการแสดง 
วิธีการแสดงไม่มีรูปแบบที่แน่นอนเช่นกัน แล้วแต่ผู้ร้องผู้รำจะสะดวก มีทั้งรูปแบบรำเป็นคู่ชาย-หญิง 
และรำเป็นวงกลมเดินต่อๆ กันไป ปนกันไปทั้งชาย-หญิง-เด็ก 
เครื่องแต่งกายของนักแสดง 
นักแสดงแต่งกายตามวิถีชีวิตของตนเอง ส่วนใหญ่แต่งกายแบบไทยๆ ผู้หญิงนุ่งผ้าถุง
 นุ่งโจงกระเบน ใส่เสื้อแบบไทย เสื้อลายดอก เสื้อประจำชาติพันธ์ ผู้ชายนุ่งกางเกงขายาว 
ใส่เสื้อคอกลมลาดดอก ไม่มีเอกลักษณ์ที่แน่นอน 
เครื่องดนตรี 
เครื่องดนตรี ที่ใช้ประกอบการแสดงรำโทนมีทั้ง 4 ชนิด คือ โทน(รำมะนา) ฉิ่ง กรับ และฉาบเล็ก 
ในแต่ละพื้นที่ใช้เครื่องดนตรีแตกต่างกันไป บางแห่งใช้โทนอย่างเดียว แต่ใช้ 3-4 ลูก 
และใช้การปรบมือเป็นการใช้จังหวะ บางพื้นที่ใช้ถังน้ำมันรถจิ๊บ (Jeep) สมัยก่อนแทนโทน
ท่ารำดังนี้



ที่มา http://www.baanjomyut.com/library_2/extension-3/hop_singles/index.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ฟ้อนหมากกั๊บแก้บ - ลำ หมากกั๊บแก้บ(กรับ)   เป็นเครื่องดนตรีประกอบจังหวะของภาคอีสาน มีด้วยกัน 2 ประเภท คือ 1. กั๊บแก้บไม้สั้น เป็นไ...