วันพฤหัสบดีที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2560


ฟ้อนเทียน






ประวัติความเป็นมา
                ฟ้อน เทียน นับเป็นระบำแบบเย็นๆ แบบหนึ่งตามลักษณะของการฟ้อนของไทยภาคเหนือ 
ผู้ฟ้อนถือเทียนจุดไฟมือละเล่มทั้ง มือ ตามปกติใช้ฟ้อนในที่กลางแจ้งในเวลาตอนกลางคืน 
ยิ่งมีนักฟ้อนมากยิ่งดี ถ้าเป็นตอนกลางวันมักจะเป็นการฟ้อนเล็บ เข้าใจว่าฟ้อนเทียนนี้แต่คงจะเดิมเป็นการฟ้อนสักการบูชาแด่สิ่ง ศักดิ์สิทธิ์ เช่นเดียวกับ Temple dance แต่ก่อนมาแสดงประกอบพิธีเฉพาะในงานสำคัญในพระราชฐาน เช่นในคุ้มหลวง ผู้ฟ้อนโดยมากล้วนเป็นเจ้านายเชื้อพระราชวงศ์ฝ่ายในทั้งสิ้นในสมัยโบราณจึง มีศิลปะที่ไม่สู้จะได้ชมบ่อยนัก ความงามของการฟ้อนอยู่ที่ชมแสงเทียนที่ถือแสงวับๆ แวมๆ จากดวงเทียนที่ถือในมือ การฟ้อนเทียนครั้งสำคัญที่เราได้ยินเลื่องลือกัน เป็นครั้งหลังก็เมื่อคราวพระราชชายาเจ้าดารารัศมีทรงฝึกหัดหญิงชาวเหนือ ให้ฟ้อนถวายรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวคราวเสด็จประพาสมณฑล ฝ่ายเหนือเมื่อ พ.ศ. 2496 และครูนาฏศิลป์ของกรมศิลปากรได้ฝึกจำมา แต่บทร้องใช้ประกอบการรำนั้นมีทั้งบทพระราชนิพนธ์ของเจ้าดารารัศมี และบทที่ประพันธ์ขึ้นใหม่ โดยอาศัยเค้าของเก่า
ลักษณะการแสดง
                ผู้ฟ้อนเป็นหญิงล้วนถือเทียนจุดเทียนมือละเล่ม นิยมแสดงในเวลากลางคืน ความงามของการฟ้อนเทียนอยู่ที่แสดงเทียน เต้นระยิบระยับ ขณะที่ผู้ฟ้อนหมุนข้อมือและลีลาการเคลื่อนไหวช้าๆ เห็นแสงเทียนเดินเป็นทาง มีการแปรขบวน ควงคู่ สลับแถว เข้าวง ต่อเมื่อ ฯลฯ งดงามมาก

การแต่งกาย

                นุ่ง ซิ่นยาวกรอม สวมเสื้อแขนยาว คอปิด คาดเข็มขัดทับ ห่มสไบ เกล้าผมมวยสูง ประดับดอกไม้ล้อมมวย ห้อยอุบะยาวเคลียไหล่ ถือเทียนมือละเล่ม

ดนตรีประกอบ

           1. ปีแน
           2. กลองแอว์
           3. กลองตะโล้ดโป๊ด
           4. ฉาบใหญ่
           5. ฆ้อมโหม่ง
           6. ฆ้องหุ่ย


ท่ารำดังนี้



ฟ้อนเทียนเป็นการฟ้อนของภาคเหลือเป็นวัฒนธรรมหลักของชาวเหนือที่จะทำการสักการะสิ่งศักดิ์ศิษ
และท่ารำแต่ล่ะ เป็นท่ารำเฉพาะ จะใช้เทียนสองเล่น ในการรำทุกครั้ง




ที่มา  https://sites.google.com/site/ajanthus/fxn-theiyn

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ฟ้อนหมากกั๊บแก้บ - ลำ หมากกั๊บแก้บ(กรับ)   เป็นเครื่องดนตรีประกอบจังหวะของภาคอีสาน มีด้วยกัน 2 ประเภท คือ 1. กั๊บแก้บไม้สั้น เป็นไ...