วันพฤหัสบดีที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2560

         
                   ฟ้อนเงี้ยว

                        




ฟ้อนเงี้ยว  เป็นการแสดงพื้นเมืองของชาวเขาเผ่าหนึ่งซึ่งเรียกว่า “เงี้ยว”  มีภูมิลำเนาในชานสเตตส์ซึ่งอยู่ทางภาคเหนือของไทย             นางลมุล  ยมะคุปต์  ผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์  กรมศิลปากรได้มีโอกาสสอนละครที่คุ้มหลวง  เจ้าแก้วนวรัฐ  ผู้ครองนครเชียงใหม่  และได้เห็นการรำฟ้อนเงี้ยว เรียกตามภาษาพื้นเมืองว่า “เงี้ยวปนเมือง”  ของคุ้มเจ้าหลวง ซึ่งมีนางบุญหลง  บุญจูหลง  เป็นผู้ฝึกสอน  ในความควบคุมของพระราชายาดารารัศมี ในรัชกาลที่ 5 โดยทรงมอบหมายให้ครูหลง  บุญชูหลง  ร่วมกับครูฟ้อนในคุ้มคิดท่ารำ โดยมีครูรอด  อักษรทับ เป็นผู้คิดคำร้องเข้ากับทำนองซอเงี้ยว ท่ารำของฟ้อนเงี้ยวส่วนหนึ่งเป็นการฟ้อนที่เข้ากับบทร้อง หรือคำร้องที่เรียกว่า รำตีบท” ซึ่งเพลงร้องตอนแรกเริ่ม จะทอดเสียงยาวว่า
            “เขี้ยวลายสารโถ่ (ถั่ว) ต้มเน้อ
            พี่บ่หย่อน  เมียงนาง  น้องโลม
            ยาลำต้มโตยสู  พี่เมา  แหล่

            จากนั้นจะเป็นคำร้อง ทำนองซอเงี้ยวว่า
            “อะโหลโลโล  ไปเมืองโก  โตยพี่เงี้ยว
            หนทางคดเลี้ยว  ข้าน้อง  จะเหลียวถาม
            หนทางเส้นนี้  เปนถนน  ก็เมืองพาน
            เฮยพ่อเฮย  ผ้าสีปูเลย  พาดเกิ่งตุ๊มเกิ่ง

            เสเลเมา  บ่าเดี่ยว  เปิ๊กเซิก็
            ข้ามน้ำเลิก็  ก็บ่ได้ขอด  สายถง
            หนามเก๊ดเก๊า  มาจ่องมาขน  ก็แมวโพง
            ต๋าวันลง  เจ้นจะแผว  ต๋าฝั่ง
            เสเลเมา  บ่าเดี่ยว  ป๊อกซ็อก
            เหล้นพ้ายป๊อก ก็เส(เสีย)  ตึงลูกตึงหลาน
            เหล้นไปแถมหน้อย ก็เส(เสีย) ตึงปิ่นตึงลาน
            เนาะพี่เนาะ  จะขี่เฮือเหาะ ขึ้นบนอากาศ

            อะโหลโลโล  ส้มบ่าโอ จิน้ำพริก
            เหน็บดอกปิ๊กซิก   มาแป๋งตาเหลือก  ตาแล
            ไปทางปู๊น  เป๋นประตู  ก็ท่าแพ
            งานนักแก  อะโหลโลโล  แม่ฮ้างแม่หม้าย” 


                ต่อมา นางลมุล  ยมะคุปต์ ได้รับราชการเป็นครูสอนวิชานาฏศิลป์ที่วิทยาลัยนาฏศิลป์ 
(ขณะนั้นเรียกว่าโรงเรียนนาฏดุริยางค์ศาสตร์)  และได้นำลีลาท่าฟ้อนเงี้ยวมาปรับปรุงขึ้นใหม่ให้
งดงามตามแบบนาฏศิลป์ไทย  บรรจุไว้ในหลักสูตรวิชานาฏศิลป์ เมื่อ พ.ศ.2478
                บทร้องฟ้อนเงี้ยวมีลักษณะอวยพร  คืออาราธนาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เทพยดา 
สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายมาปกป้องคุ้มครอง  อวยชัยให้พร  เป็นสวัสดิมงคลสืบไป
                  
การแต่งกาย
                แต่งกายในชุดหญิงล้วน หรือชุดชาย-หญิง  ส่วนในการแต่งกายจะมีทั้งแบบชาวเขาและ 
แบบฟ้อนเงี้ยวที่กรมศิลากรประดิษฐ์ขึ้น และแบบพื้นเมือง  ที่น่าสังเกตอีกอย่งหนึ่งก็คือ 
ผู้แสดงจะถือกิ่งไม้ไว้ในมือทั้งสองข้าง

เครื่องดนตรี
                   ใช้วงปี่พาทย์ จะเป็นพี่พาทย์เครื่องห้า เครื่องคู่ หรือเครื่องใหญ่  สุดแท้แต่โอกาสและความเหมาะสม

บทร้องฟ้อนเงี้ยว
ภาษาคำเมือง
                    เงี้ยวล้ายซั่นโถ่  ต้มเน้อ  ปี๊บ่หย่อนเลี้ยงนาง  น้องลม
                    อย่าลั่นตม  ซวยตู๋  ปี๊เลา  แล่นๆๆๆ
ขออวยชัยพุทธิไกช่วยก้ำ         ทรงคุณเลิศล้ำไปทุกทั่วตัวตน
จงได้รับสรรพมิ่งมงคล  นาท่านา                 ขาเตวาช่วยฮักษาเตอะ
ขอหื้ออยู่สุขา  โดยธรรมานุภาพเจ้า              เตพดาช่วยเฮา   หื้อเป็นมิ่งมงคล
สังฆานุภาพเจ้า  ช่วยแนะนำผล                   สรรพมิ่งทั่วไปเนอ
มงคลเตพดาทุกแห่งหน                             ขอบรรดลช่วยให้ก้ำจิม


ภาษากลาง
ขออวยชัยพุทธิไกช่วยค้ำ         ทรงคุณเลิศล้ำไปทุกทั่วตัวตน
จงได้รับสรรพมิ่งมงคล  นาท่านา                 ขาเทวาช่วยรักษาเถิด
ขอให้อยู่สุขา  โดยธรรมานุภาพเจ้า               เทพดาช่วยเรา   ถือเป็นมิ่งมงคล
สังฆานุภาพเจ้า  ช่วยแนะนำผล                   สรรพมิ่งทั่วไปเทอญ
มงคลเทพดาทุกแห่งหน                             ขอบรรดลช่วยให้ค้ำจุน
       


ท่ารำดังนี้





ฟ้อนเงี้ยว เป็นการรำของทางเหนือ ใช้ท่าทางจากชีวิตประจำวันและใช้ใบไม้ 
ประกอบการแสดงอีกด้วย



ที่มา   https://sites.google.com/site/ajanthus/fxn-ngeiyw

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ฟ้อนหมากกั๊บแก้บ - ลำ หมากกั๊บแก้บ(กรับ)   เป็นเครื่องดนตรีประกอบจังหวะของภาคอีสาน มีด้วยกัน 2 ประเภท คือ 1. กั๊บแก้บไม้สั้น เป็นไ...