รองเง็ง
การแสดงรองเง็ง เป็นการแสดงที่นิยมอยู่ในแถบสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เข้าใจว่าจะเป็นการแสดงที่ได้รับอิทธิพลมาจากชาวตะวันตก ในยุคของการเริ่มติดต่อการค้าขายกับชาวสเปนหรือชาวโปรตุเกสที่มาติดต่อค้าขายกับชาวมาลายู
แต่ดั้งเดิมการแสดงรองเง็งจัดแสดงเฉพาะในบ้านของขุนนางหรือเจ้าผู้ครองเมืองเท่านั้น โดยฝึกหัดข้าทาสบริวารเอาไว้อวดหรือเอาไว้ต้อนรับแขกเมือง ต่อมาค่อย ๆ แพร่หลายออกไปสู่ชาวบ้านโดยผ่านทางการแสดงมะโย่งของชาวบ้าน เมื่อหยุดพักก็นำการเต้นรองเง็งออกมาแสดงคั่นเวลา
ผู้แสดงมะโย่งก็อาจมาร่วมเต้นด้วย ทำให้การแสดงรองเง็งแพร่หลายขึ้น
ต่อมาการเต้นและธรรมเนียมก็เปลี่ยนไปเปิดโอกาสให้ผู้ชมที่เป็นผู้ชายขึ้นไปเต้นคู่ด้วยได้เช่นเดียวกับรำวงของภาคกลาง เป็นต้น
จำนวนผู้แสดงแต่ละคนไม่จำกัดผู้เต้น แต่นักดนตรีจะมี ๔-๕ คนผู้แสดงอาจจะมากกว่า ๔ คู่ก็ได้
เครื่องดนตรี ประกอบด้วยรำมะนา ๑-๒ ลูก ฆ้อง ๑ ลูก ไวโอลิน ๑ ตัว
โอกาสที่ใช้แสดง ไม่จำกัด ใช้เฉพาะงานมงคลเท่านั้น สถานที่อาจจะเป็นลานกว้าง บริเวณบ้าน หรือบนเวที ตามแต่ความเหมาะสมการแต่งกาย เหมือนกับการแสดงซัมเปง แต่อาจจะประณีตบรรจงและใช้ผ้าที่ดูจะมีราคาและสวยงามมากกว่าการแต่งกายของซัมเปง
ท่าเต้นรองเง็ง แต่เดิมมีลีลาค่อนข้างปานกลาง ต่อมานำเอาจังหวะเต้นรำเข้าไปปะปน เช่น
รุมบ้า แซมบ้า กัวลาซ่า เป็นต้น และใช้เครื่องดนตรีสากลเข้าไปผสมด้วยเพื่อเพิ่มความสนุกสนาน
การเต้นหรือแสดงรองเง็ง จะไม่มีพิธีหรือขนบธรรมเนียมอื่น ๆ แต่จะเริ่มเมื่อดนตรีบรรเลงฝ่ายชายจะเข้าไปโค้งฝ่ายหญิง เพื่อเชื้อเชิญให้ออกเต้น ไม่มีการจับมือกัน เมื่อจบเพลงหนึ่ง ๆ ก็จะโค้งให้กัน
ฝ่ายชายและฝ่ายหญิงจะยืนคนละฝั่งของเวที หันหน้าเข้าหากัน ทั้ง ๒ ฝ่ายจะรักษาแถวให้ขึ้นลง
อย่างมีจังหวะและลีลาที่นุ่มนวลเหมือนเต้นลอยอยู่บนอากาศอย่างแผ่วเบา
การแสดงชุดนี้ใช้เวลาประมาณ ๒๐-๓๐ นาที
ท่ารำมีดังนี้
รองเง็ง เป็นการแสดงของภาคใต้ที่เด่นชัดอีกอย่างของการรำ
และกรมศิลปากรได้ให้เป็นรำมาตราฐานของภาคใต้
ที่มา http://www.artsedcenter.com/index.php? lay=show&ac=article&Id=539512330&Ntype=11
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น