วันพฤหัสบดีที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2560


ฟ้อนสาวไหม





 ประวัติฟ้อนสาวไหม
ฟ้อนสาวไหม เป็นฟ้อนที่ต่างจาก การฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน ซึ่งฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน เกิดจากราชสำนัก (คุ้มเจ้าดารารัศมี) แต่การฟ้อนสาวไหมเกิดจาก วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านในการทอผ้าฝ้ายของชาวล้านนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวบ้านศรีทรายมูล ที่เป็นแรงบันดาลใจให้เกิด การฟ้อนสาวไหม ซึ่งบุคคลผู้ที่คิดค้นการฟ้อนนี้ คือ นายกุย สุภาวสิทธิ์ อดีตศิลปินช่างฟ้อน (ปัจจุบันได้ล่วงลับไปแล้ว) แห่งหมู่บ้านศรีทรายมูล หมู่ที่ ๑๑ ตำบลรอบเวียง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย แต่เดิมท่านเป็นชาวบ้านแม่คือ ตำบลแม่ก๊ะ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบอาชีพทำนา ทำสวน และเป็นครูช่างฟ้อนผู้หนึ่งที่ได้สอนศิลปะการฟ้อนเชิง ฟ้อนดาบ ซึ่งได้รับการถ่ายทอดมาจากพ่อครูปวน คำมาแดง ซึ่งเป็นผู้ชำนาญทางด้านนี้จนได้รับสมญานามว่า “ปวนเจิง” (หมายถึง นายปวน ผู้เชี่ยวชาญในการฟ้อนเชิง) จากนั้นนายกุย สุภาวสิทธิ์ ได้ถ่ายทอดศิลปะการฟ้อนต่างๆ แก่หนุ่มสาวชาวบ้านศรีทรายมูล เมื่อท่านได้ถ่ายทอดศิลปะเหล่านี้แก่ชาวบ้านศรีทรายมูล เด็กหญิงบัวเรียวก็ได้รับการถ่ายทอดวิชาดังกล่าวอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฟ้อนสาวไหม นางบัวเรียว (สุภาวสิทธิ์) รัตนมณีภรณ์ ได้รับการถ่ายทอดวิชาความรู้ด้านการฟ้อนมาจากบิดาตั้งแต่ อายุประมาณ ๗-๘ ขวบ

ด้วย นายกุย เป็นผู้มีความชำนาญและความสามารถทางศิลปะการฟ้อนของฝ่ายชาย อันได้แก่ฟ้อนดาบ และฟ้อนเชิง นอกจากการฟ้อนทั้ง ๒ อย่างจะเป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านล้านนาแล้วยังสามารถนำมาเป็นอาวุธที่ใช้ป้องกันตัวจากการถูกทำร้ายได้ด้วย ด้วยเหตุนี้นายกุยคิดว่าการที่จะถ่ายทอดการฟ้อนเชิง และฟ้อนดาบให้แก่บุตรสาวอย่างเดียวคงไม่พอ จึงได้ประดิษฐ์การฟ้อนที่นำเอากระบวนการทอผ้าฝ้ายของชาวล้านนา และการฟ้อนเชิงของผู้ชายมาประดิษฐ์ท่ารำเรียกว่า “ฟ้อนสาวไหม” การที่เรียกชื่อว่าฟ้อนสาวไหมมีเหตุผล ๓ ประการ ดังนี้
ประการที่ ๑ คนเมือง หรือคนภาคเหนือเรียกด้ายเย็บผ้าว่า “ไหมเย็บผ้า”
ประการที่ ๒ คำว่าสาวไหม เป็นกระบวนท่าหนึ่งในการฟ้อนเชิง ของชาวล้านนา
ประการที่ ๓ เพื่อสวยงามตามรูปภาษา นางบัวเรียวได้กล่าวว่า บิดาเลือกชื่อนี้เพราะคำว่าฟ้อนสาวไหมมีความสวยงามมากกว่าคำว่าฟ้อนสาวฝ้าย หรือฟ้อนปั่นฝ้าย
    จากการได้รับการถ่ายทอดความรู้ดังกล่าว นางบัวเรียวจึงได้นำแสดงสู่สายตาประชาชนชาวจังหวัดเชียงราย และได้มีโอกาสนำไปเผยแพร่ยังจังหวัดเชียงใหม่ ด้วยการนำของคุณชาญ สิโรรส จากการเผยแพร่ดังกล่าวจึงได้รับทั้งคำชมและคำแนะนำในการฟ้อน ทำให้นางบัวเรียวได้ทำการปรับปรุงท่าฟ้อนสาวไหมมาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เข้ากับสรีระการฟ้อนของผู้หญิงมากยิ่งขึ้น และเข้ากับโอกาสในการแสดงตามงานต่างๆ จนมีความงดงามตามแบบการฟ้อนพื้นบ้านล้านนาอย่างแท้จริง
    ฟ้อนสาวไหม เป็นการฟ้อนพื้นเมืองที่เลียนแบบมาจากการทอผ้าไหมของชาวบ้าน การฟ้อนสาวไหมเป็นการฟ้อนรำแบบเก่า เป็นท่าหนึ่งของฟ้อนเจิงซึ่งอยู่ในชุดเดียวกับการฟ้อนดาบ ลีลาการฟ้อนเป็นจังหวะที่คล่องแคล่วและรวดเร็ว (สะดุดเป็นช่วง ๆ เหมือนการทอผ้าด้วยกี่กระตุก)
    ประมาณปี พ.ศ. 2500 คุณบัวเรียว รัตนมณีกรณ์ ได้คิดท่ารำขึ้นมาโดยอยู่ภายใต้การแนะนำของบิดา ท่ารำนี้ได้เน้นถึงการเคลื่อนไหวที่ต่อเนื่องและนุ่มนวล ซึ่งเป็นท่าที่เหมาะสมในการป้องกันไม่ให้เส้นไหมพันกัน
    ในปี พ.ศ. 2507 คุณพลอยศรี สรรพศรี ช่างฟ้อนเก่าในวังของเจ้าเชียงใหม่องค์สุดท้าย (เจ้าแก้วนวรัฐ) ได้ร่วมกับคุณบัวเรียว รัตนมณีกรณ์ได้ขัดเกลาท่ารำขึ้นใหม่
    ต่อมาในปี พ.ศ. 2520 คณะอาจารย์วิทยาลัยนาฏศิลป์เชียงใหม่ ได้คิดท่ารำขึ้นมาเป็นแบบฉบับของวิทยาลัยเอง 



    ดนตรีที่ใช้ประกอบการฟ้อน 
จะใช้วงดนตรีพื้นเมืองซึ่งมีสะล้อ ซอ ซึง เพลงร้องมักไม่นิยมนำมาแสดง จะมีแต่เพลงที่ใช้บรรเลงประกอบ แต่เดิมที่บิดาของคุณบัวเรียวใช้นั้นเป็นเพลงปราสาทไหว ส่วนคุณบัวเรียวจะใช้เพลงลาวสมเด็จ เมื่อมีการถ่ายทอดมา คณะครูนาฏศิลป์จึงได้เลือกสรรโดยใช้เพลง "ซอปั่นฝ้าย" ซึ่งมีท่วงทำนองเป็นเพลงซอทำนองหนึ่งที่นิยมกันในจังหวัดน่าน และมีลีลาที่สอดคล้องกับท่ารำ


    การแต่งกาย 
แต่งกายแบบพื้นเมือง คือนุ่งผ้าถุง ใส่เสื้อแขนกระบอกห่มสไบทับ เกล้าผมมวยประดับดอกไม้ 


    ผู้แสดง 
ใช้ผู้หญิงแสดงจำนวนเท่าไรก็ได้ ปัจจุบันก็มีผู้ชายเข้ามาแสดงด้วยก็มี 


    การแสดง 
เริ่มจากการแสดงท่าหักร้างถางพง เพาะปลูกฝ้ายและหม่อน ซึ่งเป็นการแสดงของช่างฟ้อนชาย เพิ่งเพิ่มเข้ามาภายหลัง ต่อจากนั้นก็เป็นท่วงท่าในการฟ้อนสาวไหมเริ่มจากท่าเลือกไหม ดึงไหมออกจากรัง ม้วนไหม สาวไหมออกจากตัว ไหล่ ศีรษะ เท้า ม้วนไหมใต้ศอก พุ่งกระสวย กรอไหม พาดไหม ป๊อกไหม จนกระทั่งชื่นชมกับผ้าที่ทอสำเร็จแล้ว 



ท่ารำดังนี้


ฟ้อนสาวไหม เป็นการฟ้อนที่ใช้ท่ารำจากการสาวไหม และ เป็นท่ารำพื้นเมือง



ที่มา  https://sites.google.com/site/naiyarinnoey/fxn-saw-him

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ฟ้อนหมากกั๊บแก้บ - ลำ หมากกั๊บแก้บ(กรับ)   เป็นเครื่องดนตรีประกอบจังหวะของภาคอีสาน มีด้วยกัน 2 ประเภท คือ 1. กั๊บแก้บไม้สั้น เป็นไ...