ฟ้อนเก็บฝ้าย
ฟ้อนเก็บฝ้าย เป็นการแสดงที่สื่อให้เห็นถึงวิถีชีวิตอย่างหนึ่งของชาวไทอีสาน โดยเฉพาะชาวไทเลยและชาวไทในจังหวัดเพชรบูรณ์ ที่มีการทอผ้าฝ้ายมาใช้ในชีวิตประจำวันเป็นจำนวนมาก
ฟ้อนเก็บฝ้าย ได้ประดิษฐ์คิดค้นการแสดงโดย คณาจารย์จากวิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ด ได้ออกทำการแสดงเผยแพร่ครั้งแรกในงาน “ดอกฝ้ายบานที่เมืองเลย” แสดงให้เห็นถึงการเก็บดอกฝ้ายของหญิงสาวชาวบ้าน โดยจะมีชายหนุ่มเข้ามาหยอกล้อในระหว่างกำลังที่ตากฝ้าย และช่วยถืออุปกรณ์ในตอนท้ายอีกด้วย
การแต่งกาย
- หญิง สวมเสื้อแขนกระบอกสีดำตัดขอบแดง ใช้ผ้าแพรวาแดงมัดศีรษะและปล่อยชายมาด้านซ้าย นุ่งผ้าซิ่นมัดหมี่สลับจกสีดำ สะพายกระหยัง และสวมเครื่องประดับเงิน
- ชาย สวมเสื้อย้อมครามแขนสั้น นุ่งกางเกงขาก๊วย ใช้ผ้าแพรขิดแดงโพกศีรษะและมัดเอว
ฟ้อนเก็บฝ้าย ได้ประดิษฐ์คิดค้นการแสดงโดย คณาจารย์จากวิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ด ได้ออกทำการแสดงเผยแพร่ครั้งแรกในงาน “ดอกฝ้ายบานที่เมืองเลย” แสดงให้เห็นถึงการเก็บดอกฝ้ายของหญิงสาวชาวบ้าน โดยจะมีชายหนุ่มเข้ามาหยอกล้อในระหว่างกำลังที่ตากฝ้าย และช่วยถืออุปกรณ์ในตอนท้ายอีกด้วย
การแต่งกาย
- หญิง สวมเสื้อแขนกระบอกสีดำตัดขอบแดง ใช้ผ้าแพรวาแดงมัดศีรษะและปล่อยชายมาด้านซ้าย นุ่งผ้าซิ่นมัดหมี่สลับจกสีดำ สะพายกระหยัง และสวมเครื่องประดับเงิน
- ชาย สวมเสื้อย้อมครามแขนสั้น นุ่งกางเกงขาก๊วย ใช้ผ้าแพรขิดแดงโพกศีรษะและมัดเอว
ท่ารำดังนี้
ฟ้อนเก็บฝ้าย เป็นการฟ้อนของอีสานเหนือ ท่าทางก็จะเอามาจากกการเก็บฝ้ายของชาวบ้าน
และเป็นการรำที่สนุกสนาน
ที่มา http://www.isan.clubs.chula.ac.th/folkdance/?transaction=roied12.php
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น