ฟ้อนบายศรีสู่ขวัญ
ประเพณีการสู่ขวัญ เป็นประเพณีตามศาสนาพราหมณ์ที่นิยมกระทำสืบต่อกันมาอย่างช้านาน ถือว่าเมื่อได้มีการทำพิธีนี้แล้วจะก่อให้เกิดความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต การทำพิธีีสู่ขวัญนี้จะกระทำเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ดีเป็นมงคล เช่นพิธีแต่งงาน การหายจากป่วยไข้ การมาหรือกลับจากสถานที่ใดๆ การไปค้าขายได้เงินทองมามาก การมีแขกมาเยี่ยมยามจากต่างถิ่น ฯลฯ แม้แต่เหตุการณ์ที่ไม่ดี เช่น การได้รับความเจ็บป่วย คนในครอบครัวประสบอุบัติเหตุหรือต้องเสียชีวิต (เหตุการณ์นี้จะทำพิธีให้แก่ผู้ที่รอดจากเหตุดังกล่าว) การสู่ขวัญ คือการเรียกขวัญ หรือเอิ้นขวัญ
ชาวอีสานมีความเชื่อว่า “ขวัญ” เป็นสิ่งที่แฝงอยู่กับตัวของมนุษย์มาตั้งแต่กำเนิด ซึ่งจะจับต้องหรือไม่สามารถมองเห็นได้ หากว่ามีเหตุให้ขวัญหนีออกจากตัว เช่น เกิดอุบัติเหตุ เสียใจ ป่วยไข้ ตกใจรุนแรง อาจทำให้ตัวบุคคลนั้นถึงแก่ความตายได้ ฉะนั้นต้องเรียกขวัญกลับมาสู่ตัวจะทำให้สุขสบายขึ้น
บาศรี เป็นคำเรียกพราหมณ์ด้วยความเคารพ พราหมณ์เป็นผู้ทำพิธีสู่ขวัญ จึงเรียกว่า บาศรีสู่ขวัญ ซึ่งหมายถึงพราหมณ์ทำพิธีสู่ขวัญ
บายศรี มาจากคำว่าบาย+ศรี บาย แปลว่า สัมผัส จับ ต้อง ศรี แปลว่า สิริ มงคล สิ่งที่ดี บายศรี หมายความถึง การรวบรวมเรียกเอาสิริมงคลต่างๆ ด้วยกิริยาวิธีทางกาย ทางวาจา และทางใจ แม้ว่าศรี หรือ สิริ จะไม่สามารถบายหรือสัมผัสจริงๆได้ด้วยมือ แต่ที่ใช้คำว่าบาย เนื่องจากต้องการสื่อในความหมายเชิงรูปนัยเพื่อให้เข้าใจได้ง่าย มิใช่นามนัย พราหมณ์จึงใช้วิธีเชิญสิริเข้ามาอยู่ในข้าว ไข่ต้ม หรือฝ้ายผูกข้อมือ เป็นต้น แล้วบายเอาข้าวหรือไข่ต้มส่งให้ผู้เข้ารับบายศรีกิน นำฝ้ายไปผูกข้อมือ ซึ่งวิธีการนี้เป็นวิธีเชิงรูปธรรม ในส่วนที่เป็นนามธรรมนั้น จะรับสิริทางใจหรือความรู้สึกโดยตรง
บายศรีสู่ขวัญ จึงหมายถึงการรวบรวมเรียกเอาหรือเชิญสิริมงคลต่างๆ ด้วยกิริยาวิธีทางกาย ทางวาจา และทางใจ ให้มาสถิตที่ขวัญ เพื่อความเจริญรุ่งเรือง เพื่อความสุข สวัสดี
ชาวอีสานมีความเชื่อว่า “ขวัญ” เป็นสิ่งที่แฝงอยู่กับตัวของมนุษย์มาตั้งแต่กำเนิด ซึ่งจะจับต้องหรือไม่สามารถมองเห็นได้ หากว่ามีเหตุให้ขวัญหนีออกจากตัว เช่น เกิดอุบัติเหตุ เสียใจ ป่วยไข้ ตกใจรุนแรง อาจทำให้ตัวบุคคลนั้นถึงแก่ความตายได้ ฉะนั้นต้องเรียกขวัญกลับมาสู่ตัวจะทำให้สุขสบายขึ้น
บาศรี เป็นคำเรียกพราหมณ์ด้วยความเคารพ พราหมณ์เป็นผู้ทำพิธีสู่ขวัญ จึงเรียกว่า บาศรีสู่ขวัญ ซึ่งหมายถึงพราหมณ์ทำพิธีสู่ขวัญ
บายศรี มาจากคำว่าบาย+ศรี บาย แปลว่า สัมผัส จับ ต้อง ศรี แปลว่า สิริ มงคล สิ่งที่ดี บายศรี หมายความถึง การรวบรวมเรียกเอาสิริมงคลต่างๆ ด้วยกิริยาวิธีทางกาย ทางวาจา และทางใจ แม้ว่าศรี หรือ สิริ จะไม่สามารถบายหรือสัมผัสจริงๆได้ด้วยมือ แต่ที่ใช้คำว่าบาย เนื่องจากต้องการสื่อในความหมายเชิงรูปนัยเพื่อให้เข้าใจได้ง่าย มิใช่นามนัย พราหมณ์จึงใช้วิธีเชิญสิริเข้ามาอยู่ในข้าว ไข่ต้ม หรือฝ้ายผูกข้อมือ เป็นต้น แล้วบายเอาข้าวหรือไข่ต้มส่งให้ผู้เข้ารับบายศรีกิน นำฝ้ายไปผูกข้อมือ ซึ่งวิธีการนี้เป็นวิธีเชิงรูปธรรม ในส่วนที่เป็นนามธรรมนั้น จะรับสิริทางใจหรือความรู้สึกโดยตรง
บายศรีสู่ขวัญ จึงหมายถึงการรวบรวมเรียกเอาหรือเชิญสิริมงคลต่างๆ ด้วยกิริยาวิธีทางกาย ทางวาจา และทางใจ ให้มาสถิตที่ขวัญ เพื่อความเจริญรุ่งเรือง เพื่อความสุข สวัสดี
การแต่งกาย
ผู้แสดงเป็นหญิงล้วน สวมเสื้อแขนกระบอกสีขาว ห่มสไบขิด และนุ่งผ้าซิ่นลายขิด(ผ้าซิ่นขิดอุดรธานี) ผมเกล้ามวยทัดดอกไม้หรือพันมวยผมด้วยฝ้ายภูไท สวมเครื่องประดับเงิน
ผู้แสดงเป็นหญิงล้วน สวมเสื้อแขนกระบอกสีขาว ห่มสไบขิด และนุ่งผ้าซิ่นลายขิด(ผ้าซิ่นขิดอุดรธานี) ผมเกล้ามวยทัดดอกไม้หรือพันมวยผมด้วยฝ้ายภูไท สวมเครื่องประดับเงิน
ท่ารำดังนี้
ฟ้อนบายศรีสู่ขวัญ เป็นการฟ้อน ที่ภาคอีสานคุ้นเคยกันดีคือ ฟ้อนบายศรีสู่ขวัญเป็นประเพณีของชาวอีสานอยู่แล้ว ท่ารำก็ประดิษฐ์ออกมาได้สวยงามและไม่ยาก เกินไปคนที่มีพื้นฐานก็สามารถที่จะรำได้
ที่มา http://www.isan.clubs.chula.ac.th/folkdance/?transaction=udorn01.php
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น