รำฉุยฉายวันทอง
ความเป็นมา
ฉุยฉายวันทอง อยู่ในการแสดงละคร เรื่อง "ขุนช้างขุนแผน ตอนพระไวยแตกทัพ
" เนื้อเรื่องกล่าวถึง ขุนแผนแค้นใจพระไวยผู้เป็นบุตรชาย ที่ไปหลงเสน่ห์นางสร้อยฟ้า จึงคบคิดกับพลายชุมพลบุตรชายอันเกิดจากนางแก้วกิริยาธิดาเจ้าเมืองสุโขทัย นัดแนะให้พลายชุมพลปลอมตัวเป็นมอญใหม่ และผูกหุ่นฟางเสกเป็นไพร่พลมอญยกทัพ เพื่อมาตีกรุงศรีอยุธยา โดยพลายชุมพลยกเข้ามาตั้งค่ายอยู่ ณ ตำบลเดิทบาง ครั้นพระพันวษาได้ทรงทราบก็ตรัสสั่งให้ขุนแผนกับเจ้าเมืองสุพรรณบุรี ร่วมกันยกทัพไปปราบปราม ขุนแผนกับเจ้าเมืองสุพรรณบุรี ร่วมกันยกทัพไปตั้งค่ายรับอยู่ ณ ตำบลนางบวช (ใต้ตำบลเดิมบางลงมา) แล้วขุนแผนกับพลายชุมพลต่างก็ใช้อุบายติดต่อให้สัญญากัน พอตกกลางคืนตอนใกล้รุ่ง พลายชุมพลจึงยกทัพหุ่นเข้าตีค่ายของขุนแผนและเจ้ามืองสุพรรณบุรี ขุนแผนทำทีขี่ม้าเข้าต่อสู้ตีฝ่าข้าศึก แล้วทำเป็นเพลี้ยงพล้ำให้ข้าศึกจับตัวไปได้ ครั้นกองทัพเจ้าเมืองสุพรรณบุรีเห็นขุนแผนถูกจับไป กองทัพก็แตกพ่าย กลับมาทูลข่าวแด่พระพันวษา ด้านขุนแผนกับพลายชุมพลก็เคลื่อนกองทัพหุ่นยกล่วง มาตั้งอยู่ ณ ชายป่าในเขตบ้านตาลาน ชานกรุงศรีอยุธยา พระพันวษาออกว่าราชการ ทรงทราบเรื่องกองทัพมอญใหม่ที่จับตัวขุนแผนไป ทรงกริ้วมากตรัสสั่งให้ไปตาม เจ้าหมื่นไวยวรนารถ หัวหมื่นมหาดเล็ก ลูกชายของขุนแผนมา เมื่อเจ้าหมื่นไวยวรนารถรู้เรื่อง ก็ตกใจ จึงรีบรับอาสาทันที เส้นทางที่กองทัพพระไวยจะผ่านไปนั้น เป็นป่าเปลี่ยว นางวันทองแม้มีความผิดต้องประหารชีวิตไปตามพระราชโองการของพระพันวษาแล้วแต่ ด้วยความรักอาลัยต่อพระไวยผู้เป็นบุตร เมื่อรู้ว่าพระไวยจะยกกองทัพผ่านมาทางนี้ จึงสำแดงร่างอสุรกายให้ปรากฏ แล้วแปลงร่างเป็นนางงามขับร้องเพลงเล่นชิงช้าคอยทีอยู่ ใต้ต้นไทรใหญ่ เมื่อพระไวยผ่านมาก็ได้ยินเสียงขับร้องของสตรี จึงสั่งให้หยุดกองทัพ แล้วลงจากม้าเดินไปตามเสียง ก็พบนางงามรุ่นเจริญวัย กำลังเล่นชิงช้าและขับร้องเพลงอยู่ อย่างสบายใจ พระไวยจึงเดินเข้าไปหาและเกี้ยวพาราสี
รูปแบบ และลักษณะการแสดง
ฉุยฉายวันทอง เป็นการแสดงความงดงามของหญิงสาว
แต่งตัวสวยเพื่อจะไปหาบุตรชาย แต่บุตรชายกลับมาหลงรักห้ามเท่าไรก็ไม่ฟังนางจึงกลับร่าง เป็นอสุรกายดังเดิม การรำแบ่งเป็นขั้นตอนต่างๆดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 รำสอดสร้อยออกในเพลงรัวแล้วป้องหน้า
ขั้นตอนที่ 2 รำตีบทตามคำร้องฉุยฉาย และแม่ศรี
ขั้นตอนที่ 3 รำเข้าตามทำนองเพลงเร็ว – ลา
ผู้แสดงแต่งกายห่มสไบผ้าตาดทองลายม่วง นุ่งผ้าจีบหน้านางสีม่วง
ตามบทประพันธ์ ศิราภรณ์กระบังหน้า
ดนตรี และเพลงที่ใช้ประกอบการแสดง
ใช้วงปี่พาทย์ไม้แข็ง
เพลงที่ใช้บรรเลงประกอบการแสดง ได้แก่เพลงรัว เพลงฉุยฉาย เพลงแม่ศรี
เพลงเร็ว (คุดระนาดเหยียบกรวด) และเพลงลา ท่ารำดังนีั้
รำฉุยฉายวันทอง ท่ารำที่สวยงามและมาจากวรรณคดีไทย เป็นการรำเดี่ยว
เป็นองการเปิดตัวของนางวันทอง
ที่มา http://patdramaa111.srp.ac.th/ra-chuychay-wan-thxng
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น